เมื่อพูดถึงอาวุธตั้งแต่อดีตมากระบองยาวดูท่าจะเป็นอาวุธประเภทหนึ่งที่นิยมใช้กันอย่างมากไม่แพ้มีดดาบ ธนู หรือขวานเลยแม้แต่น้อย นั่นเพราะด้วยความยาวของตัวอาวุธทำให้ได้เปรียบด้านการต่อสู้ระยะไกลค่อนข้างมาก แม้คู่ต่อสู้อีกฝ่ายจะมาเป็นอาวุธมีคมแต่นั่นก็ไม่ใช่ปัญหาเนื่องด้วยความที่อาวุธมีความสั้นมากกว่า แล้วยังไงก็ยังได้เปรียบ แต่เรื่องของกระบองยาวยังมีความน่าสนใจต่างๆ อีกมากมายให้ได้ทำการศึกษากัน รับรองว่าจะมีสิ่งที่คาดไม่ถึงอีกหลายอย่างให้ได้รู้
ในเมืองไทยของเราหากพูดถึงเรื่องของกระบองยาวหลายคนจะนึกถึงท่อนเหล็กหรือท่อนไม้มีขนาดยาวหัวมนสองด้าน บ้างก็เรียกว่าพลอง แต่ในศาสตร์ของจีนที่ใช้อาวุธเหล่านี้มานานพลองกับกระบองยาวมีความแตกต่างกัน พลองทำมาจากท่อนไม้หรือโลหะ ส่วนใหญ่จะทำให้ผิวมีความเรียบทั้งชิ้น เนื่องจากการเรียนวิชาฝึกพลองของจีนจำเป็นต้องรูดมือให้ได้ตามความยาวของพลอง เพื่อเอาไว้สำหรับการพลิกแพลงกระบวนท่าแต่สำหรับกระบองจะมีด้านใดด้านหนึ่งที่มีรูปทรงต่างๆ เอาไว้ เช่น ถ้ากระบองหัวฟักจะติดหัวเป็นรูปฟักแตง ถ้าเป็นกระบองช่อหนามจะมีการติดหัวคล้ายกับทุเรียน แต่เมื่อเข้ามาวิวัฒนาการในเมืองไทยได้กลายเป็นเครื่องไม้ที่ทำจากหวายหรือไม้ มีการลงรักปิดทอง เขียนลายรดน้ำไม่ก็ทาสีแดงตลอดชิ้นจะไม่มีส่วนผสมของโลหะอยู่เลย
จุดเริ่มต้นของการใช้กระบองยาวในประเทศไทย
ไม่ได้มีหลักฐานปรากฏชัดเจนแน่นอนว่ากระบองยาวได้แพร่หลายเข้ามาสู่เมืองไทยตั้งแต่ช่วงไหน ทว่าจากการวิเคราะห์ของนักประวัติศาสตร์ไม่น้อยก็คาดกันว่าด้วยคนไทยเป็นชาติแห่งนักรบ มีการต่อสู้มาอย่างยาวนานก็น่าจะทำให้อาวุธอย่างกระบองมีการใช้งานกันแพร่หลายนานมากแล้ว แต่จะมาพอจับความได้ก็น่าอยู่ในช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นที่มีบันทึกเอาไว้บ้างนั่นเอง
ประโยชน์จากการใช้งานกระบองยาว
1. ช่วยป้องกันตนเองจากศัตรูหรืออันตรายในระยะไกลได้อย่างดี
2. เสริมสร้างความแข็งแกร่งด้านจิตใจ การต่อสู้ ความไม่ย่อท้อต่อปัญหา
3. ช่วยเป็นอุปกรณ์ในด้านอื่นๆ อีกมากมาย อาทิ เอาไว้สำหรับการเดินป่า การสอยหรือเอาของจากที่สูง ใช้ป้องกันอันตรายจากสิ่งรอบตัว เป็นเสาตั้งสำหรับกางเต๊นท์
4. เป็นการฝึกฝนให้รู้จักการใช้ประโยชน์ด้วยการประยุกต์จากสิ่งรอบตัวให้มีค่ามากที่สุด และสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ภายใต้ข้อจำกัดของสิ่งที่ตนเองพึงมี

green-ink This entry was posted in. News ความเข้าใจอันแท้จริงของกระบองยาว.

One Reply to “ความเข้าใจอันแท้จริงของกระบองยาว”